02-1620750

บทความ

คดีข้อพิพาทงานป้องกันตลิ่ง

06-08-2556 20:56:44น.

 

    ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์

                                 ศาลปกครองสูงสุด

                                 วันที่   ๓๐  เดือน  พฤษภาคม พุทธศักราช  ๒๕๔๖

ผู้ฟ้องคดี

 

ผู้ถูกฟ้องคดี

 

 

 

 

 

 

 

 


เรื่อง  คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง (คำร้องอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ)

 

                   ผู้ฟ้องคดียื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ในคดีหมายเลขดำที่ ๒๓๗๑/๒๕๔๔
หมายเลขแดงที่ ๑๔๕๔/๒๕๔๔ ของศาลปกครองชั้นต้น (ศาลปกครองกลาง)

/ได้กระทำการ...

 

                   คดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ผู้ฟ้องคดีได้ทำสัญญารับจ้างก่อสร้างกำแพง ค.ส.ล.
ป้องกันตลิ่งพัง บริเวณริมตลิ่งแม่น้ำน่านด้านทิศตะวันออก กับผู้ถูกฟ้องคดี ตามสัญญาจ้างเลขที่ ๑๒/๒๕๔๒ ลงวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๔๒   ต่อมา เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๔๓ ผู้ถูกฟ้องคดีได้สั่งให้ผู้ฟ้องคดีระงับการก่อสร้าง โดยอ้างว่าการถมทรายมิได้มีการบดอัดแน่นตามแบบรูปรายการ ซึ่งผู้ฟ้องคดีได้ชี้แจงว่า การดำเนินงานของผู้ฟ้องคดีเป็นไปตามหลักวิชาช่างทุกประการ และได้ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ควบคุมงานตลอดจนวิศวกรของสำนักงานโยธาธิการจังหวัดพิษณุโลกโดยเคร่งครัดในขั้นตอนนี้อยู่แล้ว ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า นายสมศักดิ์  ยาคล้าย ตำแหน่งนายกเทศมนตรีของผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งเป็นคู่สัญญากับผู้ฟ้องคดีตามสัญญารับจ้าง
ได้กระทำการกลั่นแกล้งผู้ฟ้องคดี โดยการไม่ดำเนินการตามกระบวนการจ้างก่อสร้าง
ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๓๕ และตามสัญญาจ้างก่อสร้าง ทำให้การทำงานก่อสร้างของผู้ฟ้องคดีเป็นไปโดยล่าช้า และผู้ถูกฟ้องคดีโดยนายสมศักดิ์ ได้ออกคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีระงับการก่อสร้าง ผู้ฟ้องคดี
จึงได้มีหนังสือร้องเรียนต่อคณะกรรมาธิการการปกครองวุฒิสภา  และคณะกรรมาธิการ
การปกครองวุฒิสภาได้ทำการไกล่เกลี่ยประนีประนอม โดยให้ผู้ฟ้องคดีกลับเข้าทำงานที่เหลืออีกร้อยละ ๕ ของงานทั้งหมดให้แล้วเสร็จ และให้ผู้ถูกฟ้องคดีปรับผู้ฟ้องคดีที่ส่งมอบงานล่าช้าเป็น ๒ ช่วง คือ ตั้งแต่วันพ้นกำหนดสิ้นสุดในสัญญาถึงวันที่ผู้ถูกฟ้องคดีสั่งให้ระงับการก่อสร้างช่วงหนึ่ง และอีกช่วงหนึ่งตั้งแต่วันที่ผู้ฟ้องคดีแจ้งขอเข้าดำเนินการก่อสร้างครั้งใหม่จนถึงวันที่ส่งงานงวดสุดท้ายแล้วเสร็จสมบูรณ์  ต่อมา เมื่อผู้ฟ้องคดีดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จและ
ส่งมอบงานถูกต้องครบถ้วน ผู้ถูกฟ้องคดีได้จ่ายเงินค่าจ้างก่อสร้างโดยหักค่าปรับไปเป็นจำนวนเงิน ๒,๐๔๘,๘๖๐ บาท ซึ่งไม่เป็นไปตามข้อตกลงที่คณะกรรมาธิการการปกครองวุฒิสภาได้ประนีประนอมไว้ โดยผู้ถูกฟ้องคดีได้คิดค่าปรับนับตั้งแต่วันพ้นกำหนดสิ้นสุดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ฟ้องคดีส่งมอบงานงวดสุดท้าย ผู้ฟ้องคดีจึงได้มีหนังสือลงวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๔๔ แจ้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีชำระเงินค่าก่อสร้างให้ถูกต้อง แต่ผู้ถูกฟ้องคดีได้มีหนังสือ
ลงวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๔๔ แจ้งให้ผู้ฟ้องคดีทราบว่าอยู่ระหว่างการดำเนินการปรึกษากับอำเภอเมืองพิษณุโลก ผู้ฟ้องคดีจึงได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองชั้นต้น ขอให้ศาลพิจารณาพิพากษาและมีคำสั่งดังต่อไปนี้

                   ๑. ให้ผู้ถูกฟ้องคดีชำระเงินค่าจ้างก่อสร้างที่หักเป็นค่าปรับจำนวนเงิน
๒,๐๔๘,๘๖๐ บาท พร้อมทั้งชำระดอกเบี้ยร้อยละ ๑๕ ของเงินต้นจำนวนสองยอด คือ
จากเงินต้น ๕,๓๕๑,๑๕๐ บาท ตั้งแต่วันที่สัญญาจ้างสิ้นสุดจนถึงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๔๔ และจากเงินต้น ๒,๐๔๘,๘๖๐ บาท ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๔ จนถึงวันที่ผู้ถูกฟ้องคดีชำระเงินต้นจำนวนดังกล่าวเสร็จสิ้น รวมเป็นค่าดอกเบี้ยทั้งหมด ๗๐๕,๕๓๐ บาท แก่ผู้ฟ้องคดี

                   ๒. ให้ผู้ถูกฟ้องคดีชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการระงับการก่อสร้าง
โดยมิชอบเป็นจำนวนเงิน ๑๔๗,๑๑๐ บาท แก่ผู้ฟ้องคดี

/๔. ให้ผู้ถูกฟ้องคดี...

 

                   ๓. ให้ผู้ถูกฟ้องคดีชำระค่าใช้จ่ายในการดูแลสถานที่ก่อสร้างในช่วงระยะเวลาการสั่งระงับการก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน ๑๑๐,๐๐๐ บาท แก่ผู้ฟ้องคดี

                   ๔. ให้ผู้ถูกฟ้องคดีชำระค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทางกฎหมายเป็น
จำนวนเงิน ๑๕๐,๐๐๐ บาท แก่ผู้ฟ้องคดี

                   ๕. ให้ผู้ถูกฟ้องคดีชำระค่าสูญเสียผลกำไรจากการเสียโอกาสเพราะ
ผู้ฟ้องคดีไม่มีทุนสำรองที่จะสามารถรับงานใหม่ได้ในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นจำนวนเงิน
๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท แก่ผู้ฟ้องคดี

                   ๖. ให้ผู้ถูกฟ้องคดีชำระค่าฤชาธรรมเนียมต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดแทน
ผู้ฟ้องคดี

                   ต่อมา ผู้ถูกฟ้องคดีได้ยื่นคำร้องลงวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ ขอให้ศาล
มีคำสั่งจำหน่ายคดี เพื่อให้คู่สัญญาดำเนินการระงับข้อพิพาททางอนุญาโตตุลาการก่อน
ตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๒๑ ของสัญญาจ้างก่อสร้างระหว่างผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดี  ทั้งนี้ ตามความในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๓๐ และศาลปกครองชั้นต้นได้นัดไต่สวนคู่กรณีทั้งสองฝ่ายในประเด็นตามคำขอของผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งได้ข้อเท็จจริงจากการให้ถ้อยคำของผู้ฟ้องคดีว่า ผู้ฟ้องคดีได้ทราบดีแล้วตั้งแต่ในขณะทำสัญญาว่า สัญญาจ้างก่อสร้างระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีนี้ มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการอยู่ในสัญญาดังกล่าว

/ข้อพิพาท...

 

                   ศาลปกครองชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า ตามมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้บัญญัติว่า ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาอนุญาโตตุลาการโดยมิได้เสนอข้อพิพาทนั้นต่ออนุญาโตตุลาการ
ตามสัญญา คู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องอาจยื่นคำร้องต่อศาลก่อนวันที่สืบพยาน หรือก่อน
มีคำพิพากษาในกรณีที่ไม่มีการสืบพยานให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อน และเมื่อศาลทำการไต่สวนแล้วไม่ปรากฏว่ามีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะ หรือใช้บังคับไม่ได้ด้วยเหตุประการอื่น หรือมีเหตุที่ทำให้
ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานั้นได้ ก็ให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสีย ซึ่งข้อเท็จจริงในคดีนี้ปรากฏว่า ข้อ ๒๑ ของสัญญาจ้างก่อสร้างเลขที่ ๑๒/๒๕๔๒ ลงวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๔๒ ได้กำหนดให้มีการระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับข้อกำหนดในสัญญาหรือเกี่ยวกับการปฏิบัติตามสัญญาโดยอนุญาโตตุลาการ และโดยที่เหตุแห่งการฟ้องคดีนี้คือ ข้อพิพาทเกี่ยวกับการสั่งระงับการก่อสร้างโดยผู้ถูกฟ้องคดี และการคิดค่าปรับในช่วงเวลาดังกล่าว รวมทั้งตามคำขอของผู้ฟ้องคดีที่ให้
ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหายในกรณีนี้ ก็ล้วนเกี่ยวกับการสั่งระงับการก่อสร้าง
ข้างต้น จึงเป็น
ข้อพิพาทเกี่ยวกับข้อกำหนดในสัญญาหรือเกี่ยวกับการปฏิบัติตามสัญญา และเนื่องจาก
ในการไต่สวนไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า มีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ด้วยเหตุประการอื่น หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานั้นได้
จึงต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ ศาลปกครองชั้นต้นจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความและให้คืนค่าธรรมเนียมทั้งหมดแก่ผู้ฟ้องคดี

                   ผู้ฟ้องคดียื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองชั้นต้นที่สั่งจำหน่ายคดี
ออกจากสารบบความ สรุปความได้ว่า แม้ผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีจะมีความผูกพันที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาจ้างก่อสร้างเลขที่ ๑๒/๒๕๔๒ ลงวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๔๒ แต่มูลคดีตามคำฟ้องเกิดจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง มีนายสมศักดิ์  ยาคล้าย
ตำแหน่งนายกเทศมนตรีเป็นผู้แทน แต่นายสมศักดิ์มิได้ปฏิบัติตามข้อ ๑๓๒ ของระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ต้องลดหรืองดเบี้ยปรับตามสัญญาจ้างให้แก่ผู้ฟ้องคดี กลับใช้อำนาจรัฐโดยมิชอบ
กลั่นแกล้งผู้ฟ้องคดี ทำให้งานก่อสร้างตามสัญญาจ้างต้องล่าช้า ข้อพิพาทตามคำฟ้อง
จึงเกิดจากการไม่ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว มิใช่ข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาจ้างก่อสร้าง จึงขอให้ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งกลับคำสั่งศาลปกครองชั้นต้น
และรับคดีของผู้ฟ้องคดีไว้พิจารณา

 

/มีข้อพิพาท...

 

                        ศาลปกครองสูงสุดพิเคราะห์แล้วเห็นว่า สัญญาว่าจ้างให้ก่อสร้างกำแพง ค.ส.ล. ป้องกันตลิ่งพัง ระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดี มีลักษณะเป็นสัญญา
จัดให้มีสิ่งก่อสร้างสาธารณูปโภค จึงเป็นสัญญาทางปกครองตามความในมาตรา ๓
แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เมื่อผู้ฟ้องคดีได้อ้างว่า นายสมศักดิ์  ยาคล้าย ในฐานะนายกเทศมนตรีตำบลบ้านใหม่  ได้กระทำการ
กลั่นแกล้งผู้ฟ้องคดี ทำให้การทำงานก่อสร้างกำแพงป้องกันตลิ่งพังตามสัญญาจ้างของ
ผู้ฟ้องคดีเป็นไปโดยล่าช้า  และได้สั่งให้ผู้ฟ้องคดีระงับการก่อสร้าง รวมทั้งคิดค่าปรับโดย
ไม่ถูกต้อง ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนเสียหาย  ล้วนเป็นการไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญาระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดี คดีจึงเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๙  วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เนื่องจากสัญญาดังกล่าวมีข้อสัญญากำหนดไว้ในข้อ ๒๑ ว่า กรณี
มีข้อพิพาทตามสัญญา ให้มีการระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับข้อกำหนดในสัญญาหรือเกี่ยวกับ
การปฏิบัติตามสัญญาโดยอนุญาโตตุลาการ ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ
พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งมีผลบังคับใช้ขณะเกิดข้อพิพาทตามสัญญา เมื่อปรากฏว่าผู้ถูกฟ้องคดี
ได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองชั้นต้นก่อนมีคำพิพากษาให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้
คู่สัญญาดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อน และศาลได้ไต่สวนแล้วไม่ปรากฏว่า มีเหตุที่
ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ด้วยเหตุประการอื่น หรือมีเหตุ
ที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานั้นได้ ศาลปกครองชั้นต้นก็ต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นตามความในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๓๐

/เลขที่ ๑๒/...

 

                   สำหรับคำร้องอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีที่ว่า มูลคดีตามคำฟ้องนี้เกิดจากการที่
ผู้ถูกฟ้องคดีมิได้ปฏิบัติตามข้อ ๑๓๒ ของระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุ
ของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๓๕ กล่าวคือ ผู้ถูกฟ้องคดีไม่ได้ลด
หรืองดเบี้ยปรับตามสัญญาจ้างให้แก่ผู้ฟ้องคดี กลับใช้อำนาจรัฐโดยมิชอบกลั่นแกล้ง
ผู้ฟ้องคดี ทำให้งานก่อสร้างตามสัญญาจ้างต้องล่าช้า ข้อพิพาทตามคำฟ้องจึงเกิดจากการ
ไม่ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว มิใช่ข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาจ้าง
ก่อสร้าง นั้น เห็นว่า การที่จะพิจารณาว่าจะลดหรืองดเบี้ยปรับเท่าใดนั้น ก็ต้องพิจารณา
ตามข้อกำหนดในข้อ ๑๗ ของสัญญาจ้างก่อสร้างเลขที่ ๑๒/๒๕๔๒ ลงวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๔๒ กล่าวคือ หากผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จ ต้องชำระค่าปรับให้แก่ผู้ว่าจ้างเป็นจำนวนเงินวันละ ๗,๖๔๕ บาท  ส่วนข้อ ๑๓๒ ของระเบียบกระทรวงมหาดไทย
ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๓๕  ที่กำหนดว่า การงดหรือ
ลดค่าปรับให้แก่คู่สัญญา อยู่ในอำนาจของผู้ถูกฟ้องคดีที่จะพิจารณาตามจำนวนวันที่มีเหตุเกิดขึ้นจริง นั้น เห็นว่า ระเบียบกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวเป็นข้อกำหนดเพื่อพิจารณากำหนดการงดหรือลดค่าปรับตามสัญญา  ระเบียบดังกล่าวจึงเป็นเพียงหลักเกณฑ์ประกอบในการพิจารณาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามสัญญาเท่านั้น  นอกจากนี้ การระงับการก่อสร้างและการคิดค่าปรับของผู้ถูกฟ้องคดีซึ่งผู้ฟ้องคดีไม่เห็นด้วยนั้น ก็เป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับเรื่อง
การปฏิบัติตามสัญญาจ้างก่อสร้างดังกล่าว อีกทั้งคำขอของผู้ฟ้องคดีที่ให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหายในกรณีนี้ ก็เกี่ยวข้องกับการสั่งระงับการก่อสร้างของผู้ถูกฟ้องคดี คดีจึงเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับข้อกำหนดในสัญญาและการปฏิบัติตามสัญญา ที่ต้องดำเนินการตามมาตรา ๑๐
แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๓๐ ประกอบกับข้อ ๒๑ ของสัญญาจ้าง
เลขที่ ๑๒/๒๕๔๒ ลงวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๔๒ ก่อน อุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีจึงฟังไม่ขึ้น  การที่
ศาลปกครองชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ จึงชอบแล้ว

                   จึงมีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดีออกจาก
สารบบความ

 

นายหัสวุฒิ  วิฑิตวิริยกุล                                                              ตุลาการเจ้าของสำนวน

ตุลาการศาลปกครองสูงสุด

 

นายธีรยุทธ์  หล่อเลิศรัตน์

ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด     

 

นายจรัญ  หัตถกรรม

ตุลาการศาลปกครองสูงสุด

 

นายธงชัย  ลำดับวงศ

ตุลาการศาลปกครองสูงสุด